ห้องเรียนครูร่วมชาติ

โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบเสาะหาความรู้เดิม การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลใหม่ นำมาอภิปรายสรุป ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ทันสมัย และใช้ได้ตลอดไป
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีทักษะในการทำโครงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาแนวคิดเชิงนามธรรม การคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหา การเขียนรหัสลำลองและผังงาน การเขียนออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายที่มีการใช้งานตัวแปร เงื่อนไข และการวนซ้ำ เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การประมวลผล การสร้างทางเลือกและประเมินผลเพื่อตัดสินใจ ซอฟต์แวร์และบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการจัดการข้อมูล แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ข้อตกลงและข้อกำหนดการใช้สื่อและแหล่งข้อมูล
นำแนวคิดเชิงนามธรรมและขั้นตอนการแก้ปัญหา ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวบรวมข้อมูลและสร้างทางเลือก ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความตระหนักถึงการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และไม่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาแนวคิดหลักของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจำวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนการดำเนินการแก้ปัญหา ด้วยการทดสอบ การประเมินผล ระบุข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย
โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-baseก Learning) และการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน(Project-based Learning) เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหาวางแผนการเรียนรู้ และนำเสนอผ่านการทำกิจกรรมโครงงาน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ของความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ผลของเทคโนโลยีต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการดำรงชีวิต จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการทักษะในการสื่อสาร ความสามารถในการตัดสินใจ เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ตลอดจนคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิตสังคม และสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบและเลือกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อออกแบบวิธีการแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่นในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมการเกษตรและอาหาร และสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาแนวคิดเชิงคำนวณ การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตรรกะและฟังก์ชัน องค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสื่อสาร แนวทางการปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิธีการสร้างและกำหนดสิทธิความเป็นเจ้าของผลงาน
นำแนวคิดเชิงคำนวณไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรมหรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง สร้างและกำหนดสิทธิ์การใช้ข้อมูล ตระหนักถึงผลกระทบในการเผยแพร่ข้อมูล
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ผู้ที่มีความชื่นชอบในการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โปรแกรม PowerPoint ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2010 – 2016 โดยได้ออกแบบผลงานไม่ว่าจะเป็นภาพวาดเกี่ยวกับ สัตว์ สิ่งของต่างๆ พื้นหลัง การจัดหน้า ท าปกเอกสาร การวาดลายไทย การตั้งค่าของโปรแกรม การออกแบบลวดลายที่สวยงามต่างๆ ทั้งนี้ความรู้ทั้งหมดนี้ ขอมอบเป็นวิทยาทานให้กับสมาชิกกลุ่มหัดสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรม PowerPoint หากมีข้อผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งให้ทราบได้ครับจะท าการแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไปครับขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนในการให้ความรู้ในครั้งนี้ครับ อำจำรย์อภิวัฒน์ วงศ์กัณหำ
ดร.สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ,อำจำรย์กิติยำ พรหมสอน, Phakawan Wongpetanan,นำงสำวเมธินี พันพิบูลย์
Suradet Polnum, Phong-ampai Styles,ผู้ชำย ในสำยฝน,ครูอั๋น ใจดี และท่านอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้
แต่จะลงเครดิตไว้ที่เรื่องต่างๆเท่าที่สามารถลงได้ครับผม ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งครับผม
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวหุ่นยนต์ ชุดกล่องสมองกล IPST–MicroBOX ไมโครคอนโทรลเลอร์ การติดตั้งโปรแกรม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น การเขียนคำสั่งควบคุมพอร์ตอินพุต เอาต์พุต การเขียนคำสั่งแสดงผล การเขียนคำสั่งควบคุมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ การเขียนคำสั่งควบคุมมอเตอร์ การสร้างหุ่นยนต์ อย่างง่าย ด้วยชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBOX ตามโจทย์ตัวอย่างที่กาหนดให้พร้อมทั้งอธิบายหลักการทางานตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวันและมีเจตนคติที่ดีต่อคอมพิวเตอร์ได้
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาความเป็นมาของภาษา HTML เครื่องมือในการสร้างเอกสาร HTML การจัดวางเนื้อหาบนหน้าเว็บ การจัดการข้อความ ใช้ลิสต์เพื่อสร้างรายการ การเชื่อมโยงเว็บเพจด้วยลิงก์ และการจัดการโครงสร้างเพื่อให้เว็บเพจแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยตาราง การแต่งเติมเว็บเพจด้วยกราฟิก เช่นรูปภาพ ชนิดต่างๆ การแบ่งหน้าจอโดยใช้เฟรมชนิดต่างๆ สร้างฟอร์มต่างๆเพื่อใช้ในเว็บเพจ การสร้างเอกสารที่สามารถเปิดไฟล์มัลติมีเดีย เช่น วีดิโอและเพลง และเพิ่มลูกเล่นให้กับเว็บเพจด้วยการใช้งานสไตล์ชีท พร้อมทั้งสามารถอัพโหลดเว็บเพจสู่พื้นที่ผู้ให้บริการได้
เพื่อให้
มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เพื่อนำเสนองานต่าง ๆ
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีจิตสำนึก มีคุณธรรม
และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ภาษาไพทอนเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
เพราะมีรูปแบบการเขียนที่ง่าย กระชับ และสามารถใช้ในการพัฒนาโปรแกรมได้หลายประเภท
เช่น ประยุกต์ใช้งาน เกม เว็บแอปพลิเคชัน หรือการทำงานด้าน Data Science และ Machine Learning เป็นต้น ซึ่งในบทนี้จะช่วยให้นักเรียนเห็นความสำคัญของโปรแกรมและจุดเด่นที่สำคัญของภาษาไพทอนที่แต่กต่างจากโปรแกรมภาษาอื่น
ๆ พร้อมกับการเริ่มต้นติดตั้งโปรแกรมและทดลองเขียนโปรแกรมด้วยไพทอนเบื้องต้น
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา

ศึกษาความรู้ความเข้าใจกระบวนการแก้ปัญหา การจำลองความคิด โครงสร้างแบบต่าง ๆ สำหรับการเขียนโปรแกรม โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี คำสั่งรับค่าและแสดงผล โครงสร้างแบบมีทางเลือก โครงสร้างแบบทำซ้ำ และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ตัวแปรชุด
ใช้กระบวนการฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีหลักการและกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และรู้จักโครงสร้างของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์
พัฒนาสมรรถนะความสามารถในการคิด นำเอาความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและมีคุณธรรม
- Teacher: ครูร่วมชาติ ชัยนา