ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย ความสำคัญของโครงงาน หลักการทำโครงงาน หลักการเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การสร้างแผนภูมิโครงสร้าง การเขียนผังงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน หลักการนำเสนอผลงาน การสร้างชิ้นงานหรือโครงงานจากจินตนาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจิตสำนึก การเขียนโฮมเพจด้วยภาษา HTML คำสั่งแท๊กในภาษา HTML การเขียนโฮมเพจด้วยภาษา PHP การใช้โปรแกรม Adobe Photoshop การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint  การอัพโหลดผลงานที่สร้างขึ้นสู่อินเทอร์เน็ต

    โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบเสาะหาความรู้เดิม การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลใหม่ นำมาอภิปรายสรุป ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ทันสมัย และใช้ได้ตลอดไป
    เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีทักษะในการทำโครงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

       ศึกษาแนวคิดเชิงนามธรรม การคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหา การเขียนรหัสลำลองและผังงาน การเขียนออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายที่มีการใช้งานตัวแปร เงื่อนไข และการวนซ้ำ เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การประมวลผล การสร้างทางเลือกและประเมินผลเพื่อตัดสินใจ ซอฟต์แวร์และบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการจัดการข้อมูล แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ข้อตกลงและข้อกำหนดการใช้สื่อและแหล่งข้อมูล

          นำแนวคิดเชิงนามธรรมและขั้นตอนการแก้ปัญหา ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวบรวมข้อมูลและสร้างทางเลือก ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความตระหนักถึงการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และไม่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น

       ศึกษาแนวคิดหลักของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจำวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนการดำเนินการแก้ปัญหา ด้วยการทดสอบ การประเมินผล ระบุข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น  พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย

          โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-baseก Learning) และการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน(Project-based Learning) เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหาวางแผนการเรียนรู้ และนำเสนอผ่านการทำกิจกรรมโครงงาน

          เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ของความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า  ผลของเทคโนโลยีต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการดำรงชีวิต จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการทักษะในการสื่อสาร ความสามารถในการตัดสินใจ เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

ศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ตลอดจนคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิตสังคม และสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบและเลือกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อออกแบบวิธีการแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่นในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมการเกษตรและอาหาร และสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

ศึกษาแนวคิดเชิงคำนวณ การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตรรกะและฟังก์ชัน องค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสื่อสาร แนวทางการปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิธีการสร้างและกำหนดสิทธิความเป็นเจ้าของผลงาน
    นำแนวคิดเชิงคำนวณไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรมหรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง สร้างและกำหนดสิทธิ์การใช้ข้อมูล ตระหนักถึงผลกระทบในการเผยแพร่ข้อมูล

          ผู้ที่มีความชื่นชอบในการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โปรแกรม PowerPoint ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2010 – 2016 โดยได้ออกแบบผลงานไม่ว่าจะเป็นภาพวาดเกี่ยวกับ สัตว์ สิ่งของต่างๆ พื้นหลัง การจัดหน้า ท าปกเอกสาร การวาดลายไทย การตั้งค่าของโปรแกรม การออกแบบลวดลายที่สวยงามต่างๆ ทั้งนี้ความรู้ทั้งหมดนี้ ขอมอบเป็นวิทยาทานให้กับสมาชิกกลุ่มหัดสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรม PowerPoint หากมีข้อผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งให้ทราบได้ครับจะท าการแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไปครับขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนในการให้ความรู้ในครั้งนี้ครับ อำจำรย์อภิวัฒน์  วงศ์กัณหำ
ดร.สุพจน์  ศรีนุตพงษ์ ,อำจำรย์กิติยำ พรหมสอน, Phakawan Wongpetanan,นำงสำวเมธินี  พันพิบูลย์
Suradet Polnum, Phong-ampai Styles,ผู้ชำย ในสำยฝน,ครูอั๋น ใจดี และท่านอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้
แต่จะลงเครดิตไว้ที่เรื่องต่างๆเท่าที่สามารถลงได้ครับผม ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งครับผม

ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวหุ่นยนต์ ชุดกล่องสมองกล IPST–MicroBOX ไมโครคอนโทรลเลอร์ การติดตั้งโปรแกรม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น การเขียนคำสั่งควบคุมพอร์ตอินพุต เอาต์พุต การเขียนคำสั่งแสดงผล การเขียนคำสั่งควบคุมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ การเขียนคำสั่งควบคุมมอเตอร์ การสร้างหุ่นยนต์ อย่างง่าย ด้วยชุดกล่องสมองกล IPST-MicroBOX ตามโจทย์ตัวอย่างที่กาหนดให้พร้อมทั้งอธิบายหลักการทางานตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวันและมีเจตนคติที่ดีต่อคอมพิวเตอร์ได้


  
       ศึกษาความเป็นมาของภาษา HTML เครื่องมือในการสร้างเอกสาร HTML การจัดวางเนื้อหาบนหน้าเว็บ การจัดการข้อความ ใช้ลิสต์เพื่อสร้างรายการ การเชื่อมโยงเว็บเพจด้วยลิงก์ และการจัดการโครงสร้างเพื่อให้เว็บเพจแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยตาราง การแต่งเติมเว็บเพจด้วยกราฟิก เช่นรูปภาพ ชนิดต่างๆ การแบ่งหน้าจอโดยใช้เฟรมชนิดต่างๆ สร้างฟอร์มต่างๆเพื่อใช้ในเว็บเพจ การสร้างเอกสารที่สามารถเปิดไฟล์มัลติมีเดีย เช่น วีดิโอและเพลง และเพิ่มลูกเล่นให้กับเว็บเพจด้วยการใช้งานสไตล์ชีท พร้อมทั้งสามารถอัพโหลดเว็บเพจสู่พื้นที่ผู้ให้บริการได้

    เพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เพื่อนำเสนองานต่าง ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีจิตสำนึก มีคุณธรรม และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า

ภาษาไพทอนเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมีรูปแบบการเขียนที่ง่าย กระชับ และสามารถใช้ในการพัฒนาโปรแกรมได้หลายประเภท เช่น ประยุกต์ใช้งาน เกม เว็บแอปพลิเคชัน หรือการทำงานด้าน Data Science และ Machine Learning เป็นต้น ซึ่งในบทนี้จะช่วยให้นักเรียนเห็นความสำคัญของโปรแกรมและจุดเด่นที่สำคัญของภาษาไพทอนที่แต่กต่างจากโปรแกรมภาษาอื่น ๆ พร้อมกับการเริ่มต้นติดตั้งโปรแกรมและทดลองเขียนโปรแกรมด้วยไพทอนเบื้องต้น

ศึกษาความรู้ความเข้าใจกระบวนการแก้ปัญหา การจำลองความคิด โครงสร้างแบบต่าง ๆ สำหรับการเขียนโปรแกรม โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี คำสั่งรับค่าและแสดงผล โครงสร้างแบบมีทางเลือก โครงสร้างแบบทำซ้ำ และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ตัวแปรชุด
    ใช้กระบวนการฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีหลักการและกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และรู้จักโครงสร้างของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์
    พัฒนาสมรรถนะความสามารถในการคิด นำเอาความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและมีคุณธรรม